13 February, 2011

ละอายกันหน่อย Social Network ไม่ใช่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์

ผมจำได้ว่าก่อนหน้านี้ตอนที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยขยับตัวขึ้นไปอยู่บนโลก Social Network ใหม่ๆ อย่าง Twitter ของทักษิณ (@ThaksinLive) มีคนกลุ่มหนึ่งพยายามเกิดอาการ "รับไม่ได้" ราวกับว่าโลก Social Network ของพวกเขาเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังถูกความสกปรกโสโครกของการเมืองเข้ามาแปดเปื้อน หรือแม้แต่กระทั่งกระแสความนิยมใน Facebook และ Twitter ของ บก. ลายจุด ผู้นำทางความคิด "แกนนอน" ของเสื้อแดงตั้งแต่ช่วงหลังการสังหารหมู่ประชาชนในเดือนพฤษภาคม 2553 ก็ได้รับการดูแคลนจากคนกลุ่มเดิมนี้เช่นกัน อันนี้ผมขอไม่พูดถึงการปิดกั้นของรัฐบาลซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองที่ชัดเจน

ผมสงสัยและอยากถามพวกเขาเหลือเกินว่า "พวกคุณใช้สิทธิ์อะไรมากะเกณฑ์ว่าคนไหนมีสิทธิ์ทำอะไรหรือไม่มีสิทธิ์ทำอะไรในโลกออนไลน์?"

พวกคุณเป็นเจ้าของ Facebook หรือ Twitter หรืออะไรอื่นๆ หรือ? พวกคุณจ่ายเงินมากกว่าคนอื่นเป็นโคตรมหาอภิ VIP user หรือ? พวกคุณเป็นผู้กุมความถูกต้องในสังคมออนไลน์หรือ?

10 January, 2011

การเมืองทำให้คนทะเลาะกัน?

ทำไมคนไทยจึงมีคติ "หลีกเลี่ยงการสนทนาการเมืองในหมู่เพื่อนฝูง, คนรู้จัก"?

ด้วย ตัวของ "การเมือง" แล้ว มันไม่สามารถไปสร้างความขัดแย้งในคนเกลียดกัน ทะเลาะจนตัดญาติขาดมิตรกันได้ ทางตรงกันข้าม การเมืองคือเรื่องของการจัดสรรผลประโยชน์ เป็นหนทางในการลดระดับความขัดแย้งในสังคม

การสนใจการเมืองหรือยกการเมืองมาพูดในวงสนทนาก็ไม่ต่างอะไรจากวิจารณ์หนังหรือดารา มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การสื่อสารถึงเรื่องรอบตัว, เรื่องของคนอื่น, เรื่องของสังคมเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ ทำให้สังคมมนุษย์เป็นสังคมของมนุษย์ ไม่ใช่ฝูงสัตว์ที่มาอยู่รวมกันในคอก แม้แต่ละคนจะมีรสนิยม พื้นฐานความชอบแตกต่างกันไป ความแตกต่างทางความคิดก็ไม่อาจจะสร้างความเกลียดชังให้กับผู้คน