15 June, 2012

พระราชาลิงกับสองนักเดินทาง

ชายสองคน คนหนึ่งพูดความจริงเสมอ อีกคนหนึ่งพูดแต่เรื่องโกหก เดินทางไปด้วยกันและหลงเข้าไปในอาณาจักรลิง ที่นั่นลิงตัวหนึ่งยกตัวเองขึ้นเป็นพระราชาเหนือลิงทั้งปวง พระราชาลิงสั่งให้นักเดินทางทั้งสองคนมาเข้าเฝ้าท่ามกลางฝูงลิงข้าราชบริพารที่นั่งเรียงเป็นแถวเหมือนราชธรรมเนียมของมนุษย์

เมื่อชายทั้งสองมาอยู่ต่อหน้า พระราชาลิงได้ถามว่า "เจ้าทั้งสองเห็นข้าเป็นพระราชาเช่นไร?" ชายผู้โกหกตอบว่า "พระองค์คือราชาผู้ยิ่งใหญ่" พระราชาลิงถามต่อว่า "แล้วเหล่าข้าราชบริพารรอบตัวข้าหละ เจ้าเห็นเป็นเช่นใด?" เขาตอบว่า "เหล่าข้าราชบริพารของพระองค์ล้วนมีสง่าราศีทัดเทียมราชฑูตแลขุนพล คู่ควรกับพระองค์มาก"

พระราชาลิงและข้าราชบริพารพอใจในคำตอบของชายโกหก จึงสั่งตบรางวัลให้เขาอย่างงาม

ชายผู้รักสัจจะนึกในใจว่า "หากแม้แค่คำโกหกยังได้รางวัลลาภสรรเสริญมากขนาดนี้ ความจริงจากปากของข้าต้องได้รางวัลเป็นทรัพย์มหาศาลแน่นอน" ดังนั้นเมื่อพระราชาลิงหันมาถามเขา เขาจึงตอบไปตามจริงว่า "ท่านคือลิงที่ยอดเยี่ยม ข้าราชบริพารแวดล้อมท่านก็เป็นลิงที่ดี"

เมื่อได้ยินความจริงจากปากชายผู้สัตย์ซื่อ พระราชาลิงกริ้วจัด ตวาดสั่งให้ลูกน้องฝูงลิงเข้ารุมกัดทึ้งชายผู้นั้นจนถึงแก่ความตาย

แปลจากนิทานอีสป THE APES AND THE TWO TRAVELLERS

10 April, 2012

คำตอบง่ายๆ

มีวันหนึ่ง น้องผมถามแม่ว่า "ทำไมถึงได้เชียร์ยิ่งลักษณ์ แต่ด่าอภิสิทธิ์ อย่างนี้สองมาตรฐานนี่หน่า?" (แม่ผมโปรทักษิณ-ยิ่งลักษณ์มาก ใครแตะมีเรื่อง) 

แม่ผมตอบสวน "ก็ยิ่งลักษณ์มันชนะเลือกตั้งมา ไม่เหมือนไอ้อภิสิทธิ์ที่หน้าด้านไปแย่งตำแหน่งนายกฯ ของคนอื่น"

คำตอบแม่ง่ายจนผมอึ้งเลย

คำตอบง่ายๆ แค่นี้แหละ น้องผมซึ่งปกติก็ไม่ค่อยฉลาดนักอยู่แล้วเลยดูโง่ลงไปอีก 2 ขั้น โง่ที่ถามคำถามนี้ออกมา

คำตอบง่ายๆ แค่นี้แหละ สลิ่ม+ปชป. ก็ยังคงไม่เข้าใจตราบจนถึงทุกวันนี้

จะให้เอานายกฯ ที่ได้รับประชามติจากเสียงส่วนใหญ่ ชนะการเลือกตั้งอย่างชอบธรรม ไปเทียบกับโจรวิ่งราวที่ปล้นอำนาจไปจากมือประชาชนได้อย่างไร

ยิ่งหาเรื่องจิกกัดด่าทักษิณ ด่ายิ่งลักษณ์ เท่าไร คุณค่าของอภิสิทธิ์และพรรค ปชป. ในสายตาประชาชนก็ยิ่งกลายเป็นสวะต่ำชั้นมากขึ้นเท่านั้น

เชิญพวกสลิ่มหาเรื่องด่ายิ่งลักษณ์ต่อไปเถอะ ด่าไปอีก 100 ปีก็ไม่ช่วยให้ ปชป. ชนะเลือกตั้งหรอก ระวังเหอะ ดีไม่ดี ตำแหน่ง "ผู้นำฝ่ายค้าน" ก็อาจจะไม่เหลือ

19 March, 2012

ศาสนาไม่ผิดจริงหรือ?

ศาสนาไม่ผิดจริงหรือ? มันเป็นแค่ความผิดของคนคลั่งศาสนาเท่านั้นหรือ?

ไม่ใช่มั้ง :)

เอาอคติที่คิดว่า "ศาสนาเป็นของดีโดยธรรมชาติ" ออกไปก่อน เราอาจจะเห็นความจริงมากกว่าจากมุมมองที่เราเห็นอยู่ตอนนี้

มันไม่ใช่ว่าผมมีอคติต่อต้านศาสนา แต่มันเป็นเพราะอคติที่คุณนับถือศาสนาทำให้คุณมองเห็นว่าศาสนาเป็นของดีและบริสุทธิ์ด้วยในฐานะของ Foundation of Morality การวิเคราะห์ใดๆ ที่ challenge ศาสนาในแง่นี จึงถือว่าผิดหมด

พอมีปัญหา clash กับศาสนาทีไร ทำไมเราต้องอ้างเลี่ยงไปตำหนิว่าเป็นความไม่เข้าใจศาสนาอย่างถ่องแท้และ individual aggression ด้วย

ถ้าหากว่าตัวศาสนาในสถานะสถาบันเองมี defect ของมันเองหละ? ถ้าเราแยกศาสนาออกจาก Morality landscape หละ? เหมือนอย่างที่ครั้งหนึ่งเราแยกศาสนาออกจากการอธิบายธรรมชาติ จะเกิดอะไรขึ้น?

ไม่ใช่ bias และ predisposition ที่เราวางไว้ในศาสนาเองหรือที่มันขัดกับหลักเหตุผลและความกระหายในความรู้อันเป็นพื้นฐานแห่งความเป็นมนุษย์?

การไปไล่จิกด่าพระบางรูป คนคลั่งศาสนาบางคน หรือไปตามติดจับคำผิดพระเซเล็บ มันไม่ช่วยแก้ปัญหาหรอก

คำถามที่แท้จริง คือ "สถานะของศาสนาในปัจจุบันนี้มันถูกหรือไม่"

และก่อนจะตั้งคำถามนี้ต้องลบอคติที่คิดว่าศาสนาเป็นของดีออกไปก่อน เอาความดี-ไม่ดีซึ่งเป็นการนิยามแบบ subjective ออกไปก่อน

18 March, 2012

สังคมแห่งเหตุผล สันติภาพที่แท้จริง

ผมไม่เคยเห็นครั้งไหนเลยที่การใช้เหตุผลนำมนุษย์ไปสู่ความรุนแรง หากการเสนอความคิดอันเป็นเหตุเป็นผลจะก่อให้เกิดการสะเทือนขึ้นในสังคม และมีความขัดแย้งตามมา นั่นไม่ใช่เพราะเหตุผลนำมาซึ่งความรุนแรง แต่เป็นเพราะความไร้เหตุผลที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นต่างหากที่บ่มเพาะความรุนแรงเอาไว้

มนุษย์พัฒนาระบบเหตุผลและจริยธรรมขึ้นมาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติภาพ เพื่อต่อต้านสัญชาตญาณดิบแห่งการแก่งแย่งแข่งขัน การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากการถกเถียงและตกลงกันอย่างมีเหตุมีผล มีเพียงแต่การวางศรัทธาไว้ในระบบของเหตุผลเท่านั้น จึงจะทำให้สังคมมนุษย์ก้าวไปถึงสันติภาพอย่างแท้จริงและยั่งยืน

หากไม่มีการปรับตัว สังคมที่วางศรัทธาไว้ในตัวบุคคลหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งจึงเลี่ยงความรุนแรงไม่พ้นในที่สุด

17 March, 2012

ความสำคัญของบทลงโทษที่เป็นธรรม

เรื่องนี้นานแล้ว พอดีนึกขึ้นได้ แล้วนึกถึงทีไร ผมก็รู้สึกอนาถใจกับความคิดพวกสลิ่มอย่างสุดจะกล่าว มันเป็นเรื่องที่เว็บ Jusci ผมไปเถียงกับคนคนหนึ่งประเด็นเรื่อง "ถ้าไม่คิดจะละเมิดกฏหมายอยู่แล้ว จะต้องร้อนตัวอะไรกับกฏหมาย" (เรื่องที่ผมพูดก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงมาที่ ม. 112 ด้วยนะ แต่พูดถึงกฏหมายที่ไม่เป็นธรรมทั่วไป เขาคงคิดว่าผมจงใจพูดถึง ม. 112 แหละ)

ผมก็เลยตอบไปแบบตามสูตรเพราะคิดว่าตรรกะป่วยๆ แบบนี้มันไม่มีอะไร แย้งง่ายๆ ก็จบ ผมเลยสมมติว่า "ถ้าพรุ่งนี้ มี กม. ฝ่าไฟแดง ติดคุก 3-10 ปี ปรับ 50,000-100,000 บาท คุณคิดว่าคุณยอมรับได้หรือ"

สิ่งที่ทำให้ผมอึ้งแบบที่ภาษาวัยรุ่นเรียกว่า "ไปต่อไม่เป็น" คือคำตอบต่อมาของเขาดังนี้ "การฝ่าไฟแดง เป็นสิ่งไม่ควรกระทำ และอาจทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตได้ ติดคุก 3-10 ปี ปรับ 50,000-100,000 บาท ผมยอมรับได้"

คือที่ผมไปต่อไม่เป็นเนี่ย ไม่ใช่เพราะว่าตรรกะของเขาดีมากจนผมแพ้นะ ตรงกันข้ามเลย มันเพี้ยนมากจนผมรับไม่ได้ต่างหาก

ไม่ต้องจบนิติศาสตร์มาก็รู้ได้แล้วว่าระบบกฏหมายสมควรจะต้องมีโทษลดหลั่นกันตามระดับความผิด แม้แต่กฏหมายที่เข้มงวดเผด็จการขนาดไหนก็ยังอิงกับหลักการนี้ มันเป็นสามัญสำนึกปกติของมนุษย์ที่พอจะใช้เหตุใช้ผลเป็น

คิดดูง่ายๆ ถ้าพรุ่งนี้ประเทศไทยเสนอปรับให้ทุกความผิดมีบทลงโทษ คือ ประหารชีวิต เหมือนกันหมดทุกมาตราไม่ว่าจะเล็กน้อยอย่างทิ้งขยะลงพื้นหรือฆ่าคนวางเพลิง จะเกิดอะไรขึ้น?

ผลที่ออกมามันจะไม่ใช่ว่าทุกคนไม่กล้าทำผิดกฏหมายหรอกครับ แต่จะกลายเป็นว่าสังคมจะพังพินาศ ไร้ขื่อแปทันที เพราะเมื่อโทษของการทำผิดกฏหมายเล็กๆ เช่น การขับรถผ่าไฟแดง หรือ การทิ้งขยะลงพื้น เท่ากับการฆ่าคนตายหรือวางเพลิง คนที่ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ เขาก็จะต้องเลือกฆ่าพยานหรือทำลายหลักฐานทิ้ง ถ้าไม่ฆ่า เขาก็ต้องโดนโทษประหารแน่ๆ สู้ฆ่าดีกว่า จะได้รอดไม่ถูกฟ้อง

สังคมแบบนี้มั้งที่สลิ่มอยากอยู่! นี่คงเป็นนิติรัฐในยูโทเปียสินะ!

05 February, 2012

สูเอ๋ยคิดบ้างหรือไม่...ราชากับปรสิตกำเนิดจากแห่งใดกัน?

"Whence, thinkest thou, kings and parasites arose?
Whence that unnatural line of drones who heap
Toil and unvanquishable penury
On those who build their palaces and bring
Their daily bread? -From vice, black loathsome vice;
From rapine, madness, treachery, and wrong;
From all that genders misery, and makes
Of earth this thorny wilderness; from lust,
Revenge, and murder. -And when reason’s voice,
Loud as the voice of Nature, shall have waked
The nations; and mankind perceive that vice
Is discord, war and misery; that virtue
Is peace and happiness and harmony;
When man’s maturer nature shall disdain
The playthings of its childhood; -kingly glare
Will lose its power to dazzle, its authority
Will silently pass by; the gorgeous throne
Shall stand unnoticed in the regal hall,
Fast falling to decay; whilst falsehood’s trade
Shall be as hateful and unprofitable
As that of truth is now."

Percy Bysshe Shelley, Queen Mab

บทกลอนจากกวีอังกฤษ Percy Bysshe Shelley ครับ อ่านแล้วเข้ากับอารมณ์ที่ค้างจากเมื่อวานพอดี

เสียดายเนอะที่ไม่ใช่นักชีววิทยาแต่ง :)

31 January, 2012

ผมเห็นด้วยกับ "สมคิด" (และผู้บริหาร มธ.) ... มหาลัยควรเป็นสถานที่ราชการ

หลังจากที่ได้อ่านข่าว "สมคิด" ระบุผู้บริหารมีมติไม่ให้ใช้พื้นที่มธ.เคลื่อนไหว112 เนื่องจากเกรงว่าประชาชนจะเข้าใจผิดว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นฐานเคลื่อนไหวทางการเมือง ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง
นี่สิ คือ ความเป็นกลางทางการเมืองอย่างแท้จริงของธรรมศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
  • ยุคแห่ง 14 ตุลา, 6 ตุลา ที่นักศึกษาถูกคอมมิวนิสต์ล้างสมองนั้นได้จบลงไปแล้ว
  • ชื่อ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)" ที่ ปรีดี พนมยงค์ ตั้งขึ้นนั้นเป็นแค่ gimmick หรูๆ ปรีดีคงจะคิดอะไรไม่ออกเลยใส่คำว่า "การเมือง" เข้าไปในชื่อโก้ๆ
  • แนวทางของ สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ. คนปัจจุบัน คือการสืบต่อเจตนารมณ์ที่แท้จริงของปรีดี ผู้ซึ่งจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์อย่างล้นพ้น อันจะเห็นได้จากการเชิดชูพระเกียรติของ ร. 7 ในร่างประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 
  • วจีอมตะของปรีดีที่เปรียบมหาวิทยาลัยเป็น "ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร" นั้นไม่ได้แย้งกับการห้ามเคลื่อนไหวรณรงค์แก้ ม. 112 [โดยเฉพาะกิจกรรมของคณะนิติราษฎร์]เลยแม้แต่น้อย เพราะตามเหตุผลของสมคิด "มหา'ลัยเป็นสถานที่ราชการ" การอันใดที่ทำให้มหาวิทยาลัยดูไม่เป็นราชการ จึงไม่สมควร
  • ก่อนหน้านี้ประชาชนมองบทบาททางการเมืองของมหาวิทยาลัย (ไม่ใช่แค่ มธ.) ในทางชื่นชมมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการลงชื่อขอนายก ม. 7, การสนับสนุน(ทั้งทางตรงและทางอ้อม)การปล้นอำนาจประชาชน, รวมไปถึงการให้ความรู้แก่ประชาชนว่านายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามวิถีประชาธิปไตยนั้นเลวร้ายอย่างไร เผอิ๊ญ..เผอิญ ที่มีนักวิชาการส่วนน้อยไม่กี่คน เช่น คณะนิติราษฎร์ ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองจนทำให้ภาพพจน์ของนักวิชาการ-อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ดีต้องแปดเปื้อน
สงสัยว่าวันที่ 11 พฤษภา "วันปรีดี พนมยงค์" ปีนี้ เราจะต้องจัดงานเฉลิมฉลองให้ยิ่งใหญ่กว่าทุกๆ ปีซะแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ระดับนี้ของผู้บริหาร มธ. ยุคปัจจุบัน เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะสูงส่งคู่ฟ้าเมืองไทยไปชั่วกัลปาวสาน (อ้อ ที่อ้างกันว่าปรีดีไม่สนใจเกียรติตำแหน่งใดๆ นั้นก็คงไม่จริงหรอกครับ คงจะทำซึนไปอย่างนั้นเอง ดังนั้นเราจึงควรสักการะ "พ่อปรีดี" กันให้เต็มที่ เอาให้ดุจดั่งเทพเจ้าไปเลย)