19 March, 2012

ศาสนาไม่ผิดจริงหรือ?

ศาสนาไม่ผิดจริงหรือ? มันเป็นแค่ความผิดของคนคลั่งศาสนาเท่านั้นหรือ?

ไม่ใช่มั้ง :)

เอาอคติที่คิดว่า "ศาสนาเป็นของดีโดยธรรมชาติ" ออกไปก่อน เราอาจจะเห็นความจริงมากกว่าจากมุมมองที่เราเห็นอยู่ตอนนี้

มันไม่ใช่ว่าผมมีอคติต่อต้านศาสนา แต่มันเป็นเพราะอคติที่คุณนับถือศาสนาทำให้คุณมองเห็นว่าศาสนาเป็นของดีและบริสุทธิ์ด้วยในฐานะของ Foundation of Morality การวิเคราะห์ใดๆ ที่ challenge ศาสนาในแง่นี จึงถือว่าผิดหมด

พอมีปัญหา clash กับศาสนาทีไร ทำไมเราต้องอ้างเลี่ยงไปตำหนิว่าเป็นความไม่เข้าใจศาสนาอย่างถ่องแท้และ individual aggression ด้วย

ถ้าหากว่าตัวศาสนาในสถานะสถาบันเองมี defect ของมันเองหละ? ถ้าเราแยกศาสนาออกจาก Morality landscape หละ? เหมือนอย่างที่ครั้งหนึ่งเราแยกศาสนาออกจากการอธิบายธรรมชาติ จะเกิดอะไรขึ้น?

ไม่ใช่ bias และ predisposition ที่เราวางไว้ในศาสนาเองหรือที่มันขัดกับหลักเหตุผลและความกระหายในความรู้อันเป็นพื้นฐานแห่งความเป็นมนุษย์?

การไปไล่จิกด่าพระบางรูป คนคลั่งศาสนาบางคน หรือไปตามติดจับคำผิดพระเซเล็บ มันไม่ช่วยแก้ปัญหาหรอก

คำถามที่แท้จริง คือ "สถานะของศาสนาในปัจจุบันนี้มันถูกหรือไม่"

และก่อนจะตั้งคำถามนี้ต้องลบอคติที่คิดว่าศาสนาเป็นของดีออกไปก่อน เอาความดี-ไม่ดีซึ่งเป็นการนิยามแบบ subjective ออกไปก่อน

18 March, 2012

สังคมแห่งเหตุผล สันติภาพที่แท้จริง

ผมไม่เคยเห็นครั้งไหนเลยที่การใช้เหตุผลนำมนุษย์ไปสู่ความรุนแรง หากการเสนอความคิดอันเป็นเหตุเป็นผลจะก่อให้เกิดการสะเทือนขึ้นในสังคม และมีความขัดแย้งตามมา นั่นไม่ใช่เพราะเหตุผลนำมาซึ่งความรุนแรง แต่เป็นเพราะความไร้เหตุผลที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นต่างหากที่บ่มเพาะความรุนแรงเอาไว้

มนุษย์พัฒนาระบบเหตุผลและจริยธรรมขึ้นมาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติภาพ เพื่อต่อต้านสัญชาตญาณดิบแห่งการแก่งแย่งแข่งขัน การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากการถกเถียงและตกลงกันอย่างมีเหตุมีผล มีเพียงแต่การวางศรัทธาไว้ในระบบของเหตุผลเท่านั้น จึงจะทำให้สังคมมนุษย์ก้าวไปถึงสันติภาพอย่างแท้จริงและยั่งยืน

หากไม่มีการปรับตัว สังคมที่วางศรัทธาไว้ในตัวบุคคลหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งจึงเลี่ยงความรุนแรงไม่พ้นในที่สุด

17 March, 2012

ความสำคัญของบทลงโทษที่เป็นธรรม

เรื่องนี้นานแล้ว พอดีนึกขึ้นได้ แล้วนึกถึงทีไร ผมก็รู้สึกอนาถใจกับความคิดพวกสลิ่มอย่างสุดจะกล่าว มันเป็นเรื่องที่เว็บ Jusci ผมไปเถียงกับคนคนหนึ่งประเด็นเรื่อง "ถ้าไม่คิดจะละเมิดกฏหมายอยู่แล้ว จะต้องร้อนตัวอะไรกับกฏหมาย" (เรื่องที่ผมพูดก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงมาที่ ม. 112 ด้วยนะ แต่พูดถึงกฏหมายที่ไม่เป็นธรรมทั่วไป เขาคงคิดว่าผมจงใจพูดถึง ม. 112 แหละ)

ผมก็เลยตอบไปแบบตามสูตรเพราะคิดว่าตรรกะป่วยๆ แบบนี้มันไม่มีอะไร แย้งง่ายๆ ก็จบ ผมเลยสมมติว่า "ถ้าพรุ่งนี้ มี กม. ฝ่าไฟแดง ติดคุก 3-10 ปี ปรับ 50,000-100,000 บาท คุณคิดว่าคุณยอมรับได้หรือ"

สิ่งที่ทำให้ผมอึ้งแบบที่ภาษาวัยรุ่นเรียกว่า "ไปต่อไม่เป็น" คือคำตอบต่อมาของเขาดังนี้ "การฝ่าไฟแดง เป็นสิ่งไม่ควรกระทำ และอาจทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตได้ ติดคุก 3-10 ปี ปรับ 50,000-100,000 บาท ผมยอมรับได้"

คือที่ผมไปต่อไม่เป็นเนี่ย ไม่ใช่เพราะว่าตรรกะของเขาดีมากจนผมแพ้นะ ตรงกันข้ามเลย มันเพี้ยนมากจนผมรับไม่ได้ต่างหาก

ไม่ต้องจบนิติศาสตร์มาก็รู้ได้แล้วว่าระบบกฏหมายสมควรจะต้องมีโทษลดหลั่นกันตามระดับความผิด แม้แต่กฏหมายที่เข้มงวดเผด็จการขนาดไหนก็ยังอิงกับหลักการนี้ มันเป็นสามัญสำนึกปกติของมนุษย์ที่พอจะใช้เหตุใช้ผลเป็น

คิดดูง่ายๆ ถ้าพรุ่งนี้ประเทศไทยเสนอปรับให้ทุกความผิดมีบทลงโทษ คือ ประหารชีวิต เหมือนกันหมดทุกมาตราไม่ว่าจะเล็กน้อยอย่างทิ้งขยะลงพื้นหรือฆ่าคนวางเพลิง จะเกิดอะไรขึ้น?

ผลที่ออกมามันจะไม่ใช่ว่าทุกคนไม่กล้าทำผิดกฏหมายหรอกครับ แต่จะกลายเป็นว่าสังคมจะพังพินาศ ไร้ขื่อแปทันที เพราะเมื่อโทษของการทำผิดกฏหมายเล็กๆ เช่น การขับรถผ่าไฟแดง หรือ การทิ้งขยะลงพื้น เท่ากับการฆ่าคนตายหรือวางเพลิง คนที่ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ เขาก็จะต้องเลือกฆ่าพยานหรือทำลายหลักฐานทิ้ง ถ้าไม่ฆ่า เขาก็ต้องโดนโทษประหารแน่ๆ สู้ฆ่าดีกว่า จะได้รอดไม่ถูกฟ้อง

สังคมแบบนี้มั้งที่สลิ่มอยากอยู่! นี่คงเป็นนิติรัฐในยูโทเปียสินะ!