17 March, 2012

ความสำคัญของบทลงโทษที่เป็นธรรม

เรื่องนี้นานแล้ว พอดีนึกขึ้นได้ แล้วนึกถึงทีไร ผมก็รู้สึกอนาถใจกับความคิดพวกสลิ่มอย่างสุดจะกล่าว มันเป็นเรื่องที่เว็บ Jusci ผมไปเถียงกับคนคนหนึ่งประเด็นเรื่อง "ถ้าไม่คิดจะละเมิดกฏหมายอยู่แล้ว จะต้องร้อนตัวอะไรกับกฏหมาย" (เรื่องที่ผมพูดก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงมาที่ ม. 112 ด้วยนะ แต่พูดถึงกฏหมายที่ไม่เป็นธรรมทั่วไป เขาคงคิดว่าผมจงใจพูดถึง ม. 112 แหละ)

ผมก็เลยตอบไปแบบตามสูตรเพราะคิดว่าตรรกะป่วยๆ แบบนี้มันไม่มีอะไร แย้งง่ายๆ ก็จบ ผมเลยสมมติว่า "ถ้าพรุ่งนี้ มี กม. ฝ่าไฟแดง ติดคุก 3-10 ปี ปรับ 50,000-100,000 บาท คุณคิดว่าคุณยอมรับได้หรือ"

สิ่งที่ทำให้ผมอึ้งแบบที่ภาษาวัยรุ่นเรียกว่า "ไปต่อไม่เป็น" คือคำตอบต่อมาของเขาดังนี้ "การฝ่าไฟแดง เป็นสิ่งไม่ควรกระทำ และอาจทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตได้ ติดคุก 3-10 ปี ปรับ 50,000-100,000 บาท ผมยอมรับได้"

คือที่ผมไปต่อไม่เป็นเนี่ย ไม่ใช่เพราะว่าตรรกะของเขาดีมากจนผมแพ้นะ ตรงกันข้ามเลย มันเพี้ยนมากจนผมรับไม่ได้ต่างหาก

ไม่ต้องจบนิติศาสตร์มาก็รู้ได้แล้วว่าระบบกฏหมายสมควรจะต้องมีโทษลดหลั่นกันตามระดับความผิด แม้แต่กฏหมายที่เข้มงวดเผด็จการขนาดไหนก็ยังอิงกับหลักการนี้ มันเป็นสามัญสำนึกปกติของมนุษย์ที่พอจะใช้เหตุใช้ผลเป็น

คิดดูง่ายๆ ถ้าพรุ่งนี้ประเทศไทยเสนอปรับให้ทุกความผิดมีบทลงโทษ คือ ประหารชีวิต เหมือนกันหมดทุกมาตราไม่ว่าจะเล็กน้อยอย่างทิ้งขยะลงพื้นหรือฆ่าคนวางเพลิง จะเกิดอะไรขึ้น?

ผลที่ออกมามันจะไม่ใช่ว่าทุกคนไม่กล้าทำผิดกฏหมายหรอกครับ แต่จะกลายเป็นว่าสังคมจะพังพินาศ ไร้ขื่อแปทันที เพราะเมื่อโทษของการทำผิดกฏหมายเล็กๆ เช่น การขับรถผ่าไฟแดง หรือ การทิ้งขยะลงพื้น เท่ากับการฆ่าคนตายหรือวางเพลิง คนที่ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ เขาก็จะต้องเลือกฆ่าพยานหรือทำลายหลักฐานทิ้ง ถ้าไม่ฆ่า เขาก็ต้องโดนโทษประหารแน่ๆ สู้ฆ่าดีกว่า จะได้รอดไม่ถูกฟ้อง

สังคมแบบนี้มั้งที่สลิ่มอยากอยู่! นี่คงเป็นนิติรัฐในยูโทเปียสินะ!

No comments:

Post a Comment